»» โครงการเพาะปลูกพัฒนาพันธุ์ข้าว ««
ใน วันที่ ๘ – ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา
กองส่งเสริมการเกษตร องค์การบริหารส่วน
ตำบลหนองแสง ได้จัดทำ โครงการส่งเสริมการเพาะปลูก และพัฒนาพันธุ์ข้าวตำบลหนองแสง
ขั้นตอนการตก กล้า โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกษตรกรได้มีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดการทำนา
แบบพึ่งตนเอง มี ความตระหนักต่อการลดการใช้จ่ายจากการทำนา และเรียนรู้การผลิตพันธุ์ข้าว
อินทรีย์ในขั้นตอนการตกกล้า โดย มีคุณสุเมธปานจำลอง และคุณมาลี สุปันตี จากเครือข่ายเกษตร
กรรมทางเลือกภาคอีสาน ร่วมกับวิทยากรจากกองส่งเสริมการเกษตร องค์การบริหารส่วนตำบล
หนองแสง ผู้เข้าร่วมอบรม ประกอบด้วย กลุ่มเกษตรกรผลิตพันธุ์ข้าวตำบลหนองแสง จำนวน 60 คน
เนื้อหาหลักสูตรการในการฝึกอบรม จำนวน 2 วัน ประกอบด้วย
วันแรก กิจกรรมพิธีเปิดการฝึกอบรม โดยท่านนายกวีระศักดิ์ ทองสมบูรณ์ นายกองค์การ
บริหารส่วนตำบลหนองแสง ซึ่งส่วนหนึ่งของการพูดคุย ท่านนายกฯ ในเน้นย้ำให้ความเชื่อมันกับ
เกษตรกรที่เข้าอบรมถึงองค์การบริหารส่วนตำบลจะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ และขอให้เกษตรกรมี
ความจริงใจและเอาใจใส่ต่อขั้นตอนการผลิตพันธุ์ข้าวเพื่อให้มีคุณภาพและผลิตที่ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่าน
จากนั้น นางวิภาศิริ หงส์จันดา นักบริหารงานเกษตร รักษาการผู้อำนวยการส่งเสริมกองเกษตร ได้
นำเสนอ การดำเนินงานของเกษตรกรผลิตพันธุ์ข้าว ในปีที่ผ่านมา ซึ่งในปีที่ผ่านมาเกษตรกร กลุ่มฯที่มี
สมาชิก เริ่มต้น จำนวน 30 คน เนื้อที่ในการเพาะปลูกพันธุ์ข้าวรวมประมาณ 23 ไร่ ได้ผลิต มา
ทั้งหมด 12 ตัน เฉลี่ยไร่ละ 495 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผิตพันธุ์ข้าวที่ออกมาไม่พียงพอต่อความต้องการ
ของพี่น้องในเขตตำบลหนองแสง ต้องยกเลิกยอดสั่งจองไปเกือบครึ่งของยอดที่สั่งจองมา ดังนั้นในปี
การผลิตนี้เชื่อว่าก็อาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการเช่นกัน นอกจากนั้นทางกองการเกษตรได้ทำ
การเพาะและขยายพันธุ์ข้าวพื้นบ้านจำนวน 20 สายพันธุ์ เพื่ออนุรักษ์ เก็บรักษาพันธุ์ข้าวพื้นบ้านร่วม
ทั้งศึกษาความเหมาะสมต่อการขยายพันธุ์ที่เหมาะสมต่อพื้นที่ต่อไป
กิจกรรม แนวคิดการทำนาแบบพึ่งตนเอง โดย คุณสุเมธ ปานจำลอง และคุณมาลี สุปันตี ได้
จัดกระบวนการให้ผู้เข้าอบรม วิเคราะห์ค่าใช้จ่ายจากการทำนา และแยกแยะว่ามีส่วนใดบ้างที่
เกษตรกร ที่ซื้อ ต้องจ้าง ส่วนในบ้างที่เกษตรกรสามารถทำเองได้ ซึ่งผลปรากฏว่าเกษตรกรจะต้อง
ซื้อและจ้างทั้งหมด ชาวนาเป็นเพียงเจ้าของที่ดินและดูแลเท่านั้น จากนั้นจึงร่วมวิเคราะห์กันว่ามีสิ่ง
ไหนที่จะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ จึงมีความเห็นว่าปุ๋ยและพันธุ์ข้าวเป็นสิ่งดังเดิมทีชาวนาเคยทำเองได้
จึงควรเริ่มที่ 2 อย่างนี้ โดยการทำปุ๋ยอินทรีย์และการผลิตพันธุ์ข้าวใช้เองและสามารถนำส่วนที่เหลือ
ไปจำหน่ายจ่ายแจกให้กับเกษตรกรรายอื่นเป็นรายได้อีกด้วย
กิจกรรม การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์
วิทยากรทั้ง 2 ท่าน ให้ความรู้แก่เกษตรในเรื่อง ชั้นพันธุ์ข้าวตามมาตรฐานกรมการข้าว แบ่งออกเป็น 4 ชั้นพันธุ์ ได้แก่
• ชั้นเมล็ดพันธุ์คัด
• ชั้นเมล็ดพันธุ์หลัก
• ชั้นเมล็ดพันธุ์ขยาย
• ชั้นเมล็ดพันธุ์จำหน่าย
ซึ่ง 2 ชั้นแรก คือพันธุ์คัดและพันธุ์หลัก จะมีเพียงนักวิชาการที่มีความเชียวชาญเท่านั้นจึงจะทำได้ แต่ปัจจุบันมีนักพัฒนาพันธุ์ที่เป็นชาวบ้านหลายรายสามารถทำได้
แต่ความรู้นี้ยังอยู่ในวงจำกัด ดังนั้นถ้าหากเกษตรกรอยากมีพันธุ์ข้าวเป็นของตนเองจะมีความรู้วิธีการทำพันธุ์หลัก โดยสามารถทำได้โดยการเริ่มโดยการเพาะกล้า
จาก 2 วิธี คือ การเพาะต้นกล้าจากรวงที่สมบูรณ์ และการเพาะต้นจากเมล็ดที่สมบูรณ์โดยจะต้องแกะเมล็ดแล้วเลือกที่สมบูรณ์ไปเพาะ จากนั้นวิทยากรก็ให้ความ
รู้เรื่องการคัดเมล็ดข้าวที่ควรนำไปเพาะและรวงที่จะสามารถนำไปเพาะเป็นพันธุ์หลักได้
วันที่สอง กิจกรรมทบทวนความรู้ โดยวิทยากรได้ทบทวนความรู้ในเรื่องการคัดเมล็ดพันธุ์วิธีการดูเมล็ดพันธุ์ที่ดี เทคนิคการดูและแยกพันธุ์ข้าวแต่ละพันธุ์รวมไปถึง
ชั้นพันธุ์
กิจกรรม การเพาะต้นกล้าจากเมล็ดข้าวกล้อง และการตกล้ารวง วิทยากรคุณสุเมธ ปานจำลอง ให้ความรู้เรื่องการตกกล้าทั้งสองแบบ รวมทั้งให้ผู้เข้าร่วม
ได้ทดลองทำจริงในแปลงสาธิตและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวภายในองค์การบริหารส่วนตำบลหนอแสง
|