»» ข้อมูลทั่วไป ««


  »» กู่บ้านแดง ««



    กู่บ้านแดง ตั้งอยู่ที่บ้านแดง ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม สภาพปัจจุบันค่อนค้างพังทลายมาก จากรูปที่ปรากฏ สันนิฐานว่า น่าจะเป็นปราสาทขนาดเล็ก ๓ หลังตั้งเรียงกันอยู่บนฐานเดียวกัน ก่อด้วยศิลาแลงหันหน้าไปทางทิศตะวันตก แต่เดิมอาจมีแนวกำแพงศิลาแลงล้อมรอบ ที่บริเวณด้านบนของกรอบประตูทางเข้า (ปราสาทหลังกลาง) เคยมีทับหลังหินทรายแดง สลักเป็นรูปรัตนตรัยมหายานตั้งประดับอยู่ ต่อมาได้ถูกขโมยไปแต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมได้ที่ จังหวัดนครราชสีมา โบราณสถานนี้เคยมีการขุดแต่งแล้วบางส่วนเมื่อราวปี พ.ศ. ๒๕๒๓ แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ กู่บ้านแดงประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ และประกาศกำหนดขอบเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๓๖ วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๒๖ พื้นที่ ๔ ไร่ ๒ งาน

โบราณสถานวัตถุจากกู่บ้านแดง อำเภอวาปีประทุม จังหวัดมหาสารคาม

๑.ทับหลังสลักภาพรัตนตรัยมหายาน
ทับหลังชิ้นนี้ สลักจากหินทรายแดงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่เดิมเคยประทับอยู่ในตำแหน่งเหนือกรอบประตู่ทางเข้าที่กู่บ้านแดง ต่อมาได้ถูกขโมยไปและเจ้าหน้าที่ ตำรวจของจังหวัดนครราชสีมาจับกุมคืนมาได้ ปัจจุบันเก็บรักษาและจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย จังหวัดนครราชสีมา ภาพสลักบนแผ่นทับหลังตรงส่วนกลางเป็นภาพของพระพุทธรูปนาคปรกประทับนั้งอยู่เหนือยลายหน้ากาลเป็นประธานของแผ่นทับหลัง ด้านขวามีรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรประทับยืนอยู่ (ทำเป็นรูปบุรุษ ๔ กร) ส่วนด้านซ้ายเป็นรูปนางปรัชญาปารมิตา (รูปสตรี ๒ กร) ภาพลักษณะเช่นนี้ เรียกกันว่า “รัตนตรัยมหายาน” ส่วนข้างทั้งสองด้านของแผ้นทับหลังสลักเป็นภาพบุคคลประทับนั้งบนหลังช้าง ๓ เศียร (พระอินทร์บนหลังช้างเอราวัณ) และมีบุรุษ ๑ คนนั่งประนมมือหันเข้าสู่ส่วนกลาง เมื่อพิจารณาจากลักษณะลวดลายที่ปรากฏสันนิษฐานว่าเป็นงานศิลปกรรมแบบบายนของขอม ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘

๒. ชิ้นส่วนพระหัตถ์สลักจากหินทราย
ชิ้นส่วนพระหัตถ์ ที่พบจากการขุดแต่งกู่บ้านแดง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๓ มีจำนวน ๓ ชิ้น งานหมดสลักจากหินทรายสีเทาอมดำ โดยแบ่งเป็นพระหัตถ์ข้างขวามี ๒ ชิ้น และพระหัตถ์ซ้าย ๑ ชิ้น พระหัตถ์ขวาชิ้นแรกทรงถือดอกบัวตูมที่มีก้านพาดผ่านอุ้งพระหัตถ์ด้านล่าง มีความยาวของพระหัตถ์ (เท่าที่เหลือ) ๑๒ เซนติเมตร พระหัตถ์ขวาชิ้นที่สองทรงถือคัมภีร์ (สลักคล้ายแผ่นคัมภีร์ใบลานทับซ้อนกัน) มีความยาว ๗.๕ เซนติเมตร สำหรับพระหัตถ์ซ้ายที่พบเพียงชิ้นเดียวทรงถือคัมภีร์ เช่นกัน โดยมีความยาวของพระหัตถ์ที่พบ ๑๒ เซนติเมตร เมื่อพิจารณาจากลักษณะของเทพศัสตราวุธที่ได้พบแล้วสันนิษฐานกันว่า น่าจะเป็นส่วนพระหัตถ์ของ พระโพธิสัตว์ในศาสนาพุทธ สันนิษฐานว่าเป็นงานศิลปกรรมแบบบายนของขอม ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘
๓.ส่วนล่างของเสาประดับกรอบประตู “ฤาษี”
ชิ้นส่วนดังกล่าวสลักจากหินทรายแดง เป็นส่วนล่างของเสาประดับกรอบประตูโดยด้านล้างข้างใต้สลักเป็นเดือยกลมเพื่อใช้เสียบกับธรณีประตูของปราสาท ส่วนบนแตกชำรุดหายไป พบจำนวน ๒ ชิ้นมีความกว้าง ๒๕ เซนติเมตร ด้านหน้าสลักเป็นลายรูปฤาษีนั่งชันเข่ายกขึ้นในท่า “โยคาสานะ” มือทั้งสองพนมไว้ที่หน้าอกถือพวงลูกประคำ ฤาษีมีเครายาวลงมา และเกล้ามวยผมสูงโดยมีประคำรัดมวยผมไว้ ด้านบนทำเป็นกรอบประตูดังกล่าว เมื่อพิจารณาจากลักษณะลวดลายที่ปรากฏสันนิษฐานว่าเป็นงานศิลปกรรมแบบบายนของขอม ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘

 » ข้อมูลพื้นฐานตำบล «
  หน้าหลัก
  ข้อมูลตำบล
  กู่บ้านแดง
  พระธาตุบ้านแดง
  โครงการเพาะปลูกพัฒนาพันธุ์ข้าว
  สินค้าโอทอป
 
 
 

 » ข่าวการเงินการคลัง «
  จดหมายข่าว
  งบแสดงฐานะทางการเงิน
  ระเบียบ/หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง
  ดาวน์โหลดแบบฟอร์มต่างๆ
  ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
  ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายปี
  รายงานผลการปฏิบัติราชการ  
 

 » ลิงค์ภายในหน่วยงาน «
  คู่มือประชาชน
  ระเบียบกฎหมาย
  ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหนองแสง
  ศูนย์เรียนรู้ชุมชนตำบลหนองแสง
  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.หนองแสง
  ศูนย์การเรียนรู้ ไอซีที ชุมชนตำบลหนองแสง
 
 

 » ลิงค์ภายในหน่วยงาน «
  ข้อบัญญัติ อบต.หนองแสง
  ยุทธศาสตร์และงบประมาณ
  งานกิจการสภา
  งานการเจ้าหน้าที่
  ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น
  คู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน
  แสดงความคิดเห็น
 
 

 » ลิงค์ภายในหน่วยงาน «
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวกิจกรรม
  แผนผังเว็บไซต์
  ติดต่อเรา
  facebook อบต.หนองแสง